"

Image Hosted by CompGamer Image Host      Image Hosted by CompGamer Image Host
กลับไปยังรายบอร์ด โพสต์ใหม่
ที่มาของกฎนี้ คือ คปภ. (สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย)
ต้องการให้เราไม่ประมาทและให้เราเพิ่มความระมัดระวังในการขับขี่รถให้ปลอดภัย
ไม่เกิดค่านิยมคอยโยนภาระของตนเองให้คนอื่น ๆ (บริษัทประกัน) หรือไม่ตระหนักป้องกัน
ไม่ให้เกิดความเดือดร้อนแก่คนอื่น (เพราะคิดว่าไม่ต้องทำอะไร ประกันจะทำให้หมด
ซึ่งเป็นค่านิยมและความเข้าใจที่ผิด)

ดังนั้น ค่าเสียหายส่วนแรก ทั้ง Excess และ Deductible นั้น จะมีขึ้น
(ต้องเสียตังค์) ก็ต่อเมื่อการเกิดเหตุความเสียหาย (เพราะขับรถที่เราทำประกันภัยไว้)
และเราหรือผู้ขับขี่รถ (ที่ทำประกันภัย) เป็นฝ่ายต้องรับผิดในเหตุการณ์นั้น ๆ
(ชนท้ายคนอื่น หรือซุ่มซ่ามชนประตูรั้วบ้านตัวเอง) หรือทำเราผิดจากสัญญา
ในกรมธรรม์เท่านั้นแบ่งเป็น 2 แบบ ดังนี้ครับ

1. Excess (เอ็กเซส ไม่ใช่ แอ็คเซฟหรือแอคเซสตามที่หลายคนอ่านผิด)
ความเสียหายส่วนแรกในกรณีทำผิดสัญญา พูดง่าย ๆ คือ เรา (ผู้เอาประกันภัย)
เป็นฝ่ายผิดไม่พอ ยังละเมิดข้อตกลงที่ระบุไว้ในกรมธรรม์อีก พิกัดอัตราจึงเป็นไปตามที่
คปภ. กำหนดไว้ (ในที่นี้ยกตัวอย่างประกันชั้น 1) ได้แก่

1) กรมธรรม์แบบระบุชื่อคนขับ (เบี้ยประกันจะถูกว่าไม่ระบุชื่อคนขับ) แต่เราอนุญาตให้คนอื่นขับขี่
เมื่อเกิดอุบัติเหตุและเป็นฝ่ายผิด เราจะต้องรับผิดชอบต่อความเสียหายแต่ละครั้ง ดังนี้
ก. 2,000 บาทแรก สำหรับความเสียหายต่อทรัพย์สินบุคคลภายนอก (รถ อาคาร กำแพง ฯลฯ)

ข. 6,000 บาทแรก สำหรับความเสียหายต่อตัวรถยนต์ของเรา (ที่เกิดการชน / คว่ำ)
Install by khemtat-l[at]hotmail.com

TOP

2) ใช้รถผิดจากประเภทจากที่ระบุในกรมธรรม์ เช่น กรมธรรม์ระบุการใช้รถยนต์ว่า
"ใช้ส่วนบุคคล ไม่ใช่รับจ้างหรือให้เช่า" แต่เราเอาไปหาลำไพ่รับจ้างส่งของ เอาไปให้เช่า
เมื่อเกิดอุบัติเหตุแล้วคนที่ขับเป็นฝ่ายผิด เราต้องรับผิดชอบเอง 2,000 บาทแรก
สำหรับความเสียหายต่อทรัพย์สินบุคคลภายนอก (รถ อาคาร กำแพง ฯลฯ)

2. Deductible สำหรับ Deductible จะแบ่งเป็น 2 กรณี ดังนี้
กรณีที่ 1: ความเสียหายที่ไม่เกิดจากการชนหรือคว่ำ หรือ ชนแต่หาคู่กรณีไม่ได้ หรือ
เราไม่ได้ขับรถชนเองแต่เราไม่สามารถระบุเหตุความเสียที่ชัดเจนพอที่จะให้บริษัทประกัน
ไปไล่เบี้ยหาต้นเหตุจนพบคนที่ต้องรับผิดชอบได้ เราจะต้องจ่ายค่าเสียหายส่วนแรก
1,000 บาท สำหรับความเสียหายต่อตัวรถยนต์ของเรา เช่น

1. ถูกมุ่งร้าย กลั่นแกล้ง แล้วหาคู่กรณีไม่ได้ เช่น รถถูกขีดข่วน
2. เสียหายส่วนพื้นผิวสีรถ (ตัวรถและอุปกรณ์ในรถไม่เสียหาย) เช่น หินกระเด็นใส่
เฉี่ยวกิ่งไม้/สายไฟ/ลวดหนาม ขับรถตกหลุม / ครูดพื้นถนน เหยียบตะปูหรือของมีคม
หรืออะไรที่ทำให้ยางฉีก ละอองสีปลิวมาโดน / วัสดุหล่นมาโดน
3. ระบุสาเหตุที่ทำให้รถเสียหายไม่ได้ รวมถึงระบุวัน เวลา สถานที่เมื่อรถเกิดความ
เสียหายที่ชัดเจนไม่ได้ เช่น กระจกรถแตก ถูกสัตว์กัดแทะหรือขีดข่วนถูกวัสดุในตัวรถกระแทก
4. ไถลตกข้างทางแต่ยังไม่พลิกคว่ำ
5. ชนกับพาหนะอื่นแต่แจ้งรายละเอียดคู่กรณีไม่ได้

พูดง่าย ๆ คือ ถ้าไม่ต้องการจ่าย ต้องสามารถระบุได้ชัดเจนว่าเป็นการชน หรือ
ระบุเหตุความเสียที่ชัดเจนพอที่จะให้บริษัทประกันไปไล่เบี้ยหาต้นเหตุจนพบคนที่ต้องรับผิดชอบได้
เช่น
1. ชนกับพาหนะอื่นและแจ้งรายละเอียดคู่กรณีให้ได้
(ติดกล้องวงจรปิดสำหรับรถยนต์ไว้ชนครั้งเดียวก็คุ้มแล้ว)
2. ชนกับที่ยึดแน่นตรึงตรากับพื้นดิน
- เสา / ประตู / เสาไฟฟ้า / กำแพง / ป้ายจราจร
- ทรัพย์สินอื่นที่ยึดแน่นตรึงตรากับพื้นดิน
3. ชนต้นไม้ยืนต้น / ฟุตบาธ / ราวสะพาน
4. ชนกองดิน หรือชนหน้าผา
5. ชนคน / สัตว์
6. รถพลิกคว่ำ
Install by khemtat-l[at]hotmail.com

TOP

กรณีที่ 2: ความเสียหายส่วนแรกโดยสมัครใจ โดยเป็นการตกลงกัน ระหว่างบริษัท (
ประกันภัย) กับเรา (ผู้เอาประกัน) โดยบริษัทจะยินยอมลดเบี้ยประกันลงเท่ากับค่าเสียหาย
ส่วนแรกที่เราสมัครใจจ่ายเมื่อเกิดอุบัติเหตุขึ้นในแต่ครั้ง (นอกเหนือกรณีการจ่ายค่า
Excess หรือ deductible ในกรณีที่ 1) โดยเราสามารถเลือกได้ 2 ประเภทความคุ้มครอง
คือ คุ้มครองความเสียหายต่อตัวรถยนต์ของรถเราเอง (ที่ทำประกัน ซึ่งก็ต้องเป็นกรณีของการชน)
หรือคุ้มครองความเสียหายต่อทรัพย์สินบุคคลภายนอก (รถหรือทรัพย์สินอื่น ๆ ของคู่กรณีที่เกิดความเสียหาย)

สิ่งที่น่าสนใจสำหรับการยอมจ่ายแบบสมัครใจก็คือว่า สถิติการขอเคลมประกันเฉลี่ย (หลายท่านอาจจะไม่เคยรู้)
ถ้าได้อ่านต่อไป ท่านจะสนใจแน่นอน
· 1 คน จะขอเคลม 1 ครั้งในทุก 3 ปี สำหรับอุบัติเหตุทั่วไป
· 1 คน จะขอเคลม 1 ครั้งในทุก 10 ปี สำหรับอุบัติเหตุที่มีค่าความเสียหายมาก

ดังนั้น ยิ่งถ้าเรามีความระมัดระวังในการขับขี่ ไม่ใช่พวกมือใหม่หัดขับ มีวินัยจราจร ไม่ใจร้อนซุ่มซ่าม
โอกาสที่จะเกิดอุบัติเหตุและเป็นฝ่ายผิดก็น้อยลงอีก เมื่อเราเลือกรับผิดชอบความเสียหายส่วนแรกเอง
เราก็จะประหยัดเบี้ยประกันภัยลง หรือแม้ต้องจ่ายอย่างน้อย 1 ครั้ง ก็เท่ากับชะลอการจ่ายเบี้ยประกัน
แบบไม่เลือกรับผิดผิดชอบค่าเสียหายส่วนแรกนั่นเอง

โดยสรุป
จะเห็นว่า เมื่อเราทำประกันภัยรถยนต์แล้ว ไม่ได้หมายความว่าเราจะไม่ต้องทำอะไรเลย
หรือหากเราสมัครใจเลือกรับภาระเราเองบางส่วน (ซึ่งก็มาจากความผิดของเราเสียส่วนใหญ่)
เราก็จะยิ่งประหยัดค่าใช้จ่ายมากขึ้นนั่นเอง

ที่มา http://insurancethaicar.blogspot ... -vs-deductible.html
Install by khemtat-l[at]hotmail.com

TOP

9 ข้อต้องรู้! ก่อนไปสอบใบขับขี่เกณฑ์ใหม่ 1 มิ.ย. 2557

หลายคนคงรู้กันแล้วว่ากรมขนส่งปรับเกณฑ์การสอบใบขับขี่ใหม่ โดยเนื้อหาเพิ่มทักษะการขับขี่
เพิ่มจำนวนข้อสอบ เพิ่มเกณฑ์ผ่านการทดสอบและช่องทางอนุญาตใบขับขี่มากขึ้น  
แต่บางคนอาจจะไม่รู้รายละเอียด มี 9 เรื่องน่ารู้สำหรับการสอบใบขับขี่แบบใหม่มาฝากครับ

1. ปรับเกณฑ์การสอบใบขับขี่ใหม่ จะเริ่ม 1 มิ.ย. 57
2. ในการสอบภาคทฤษฎีนั้นเพิ่มจำนวนข้อสอบเป็น 50 ข้อ ผ่านเกณฑ์การสอบร้อยละ 90
(หรือทำได้ 45 ข้อ) จากเดิมข้อสอบ 30 ข้อเกณฑ์ผ่านเพียงร้อยละ 75 (หรือทำได้ 22 ข้อ)
3. ข้อสอบแบบใหม่มีจำนวนทั้งสิ้น 1,000 ข้อ ใช้หมุนเวียนออกสอบในแต่ละรอบ
4. ข้อสอบทั้งหมดเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ของกรมขนส่งทางบก ให้ประชาชนได้ศึกษาก่อนสอบด้วย
5. สำหรับการทดสอบภาคปฏิบัติ หรือการทดสอบขับรถนั้น จะทำในวันถัดไป แต่ไม่เกิน 90 วัน
นับจากวันที่ยื่นเรื่องวันแรก
6. ผู้ที่จะขอรับใบอนุญาตขับขี่ จะต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์ ไม่มีใบอนุญาตชนิดเดียวกัน
ไม่อยู่ระหว่างพักและเพิกถอนใบอนุญาต
ไฟล์แนบ: คุณไม่สามารถดูไฟล์แนบได้ จำเป็นต้อง เข้าสู่ระบบ แต่ถ้ายังไม่ได้เป็นสมาชิกก็ สมัครสมาชิก ก่อนนะครับ แล้วเรามาร่วมแบ่งปันความสุขกัน
Install by khemtat-l[at]hotmail.com

TOP

7. สำหรับผู้ที่มีร่างกายพิการดังต่อไปนี้ เช่น แขนขาดข้างเดียว ขาขาดข้างเดียว ตาบอดข้างเดียว
ลำตัวพิการ หูหนวก เมื่อต้องการมีใบอนุญาตขับขี่ ต้องขอคำปรึกษาจากเจ้าหน้าที่ขนส่งก่อนจึงจะทำได้
8. หลักฐานที่นำไปด้วย คือ
-บัตรประชาชนตัวจริงพร้อมใบสำเนา หรือบัตรประจำตัวข้าราชการพร้อมใบสำเนาที่ใช้แทนบัตรประชาชน
-ใบรับรองแพทย์ตัวจริงไม่เกิน 1 เดือน ที่รับรองว่าผู้ขอไม่มีโรคประจำตัวที่อาจเป็นอันตรายขณะขับรถ
9. เนื่องจากปัจจุบันผู้ขอรับใบอนุญาตขับขี่มีจำนวนมากขึ้น ทำให้ต้องรอคิวอบรมและทดสอบเป็นเวลานาน
กรมการขนส่งฯจึงให้สำนักงานขนส่งจังหวัดทุกจังหวัด ประสานสถาบันการศึกษาภาครัฐที่มีมาตรฐาน
และมีความพร้อมจัดอบรมภาคทฤษฎีตามหลักสูตรที่กรมการขนส่งฯกำหนด ให้กับผู้ที่ประสงค์ขอรับ
ใบอนุญาตขับขี่ เบื้องต้นเฉพาะผู้ขอรับใบอนุญาตขับขี่รถใหม่ และการต่ออายุใบอนุญาตขับขี่
ส่วนจะเริ่มได้เมื่อไหร่นั้น จะมีการประชาสัมพันธ์ให้ทราบ
Install by khemtat-l[at]hotmail.com

TOP

จัดเต็ม! ข้อสอบใบขับขี่แบบใหม่ล่าสุด

เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2557 ที่ผ่านมานั้น
กรมการขนส่งได้ปรับเงื่อนไขการทดสอบเพื่อขอรับใบอนุญาตขับรถใหม่
โดยต้องทำการทดสอบทั้งหมด 50 ข้อ (จากเดิม 30 ข้อ) รวมถึงต้อง
ตอบถูกไม่น้อยกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ หรือเท่ากับ 45 ข้อเลยทีเดียว
ซึ่งหากเตรียมพร้อมมาอย่างดีแล้ว เชื่อว่าไม่น่ายากเกินความสามารถแน่นอน
เราจึงได้รวบรวมนำเอาข้อสอบใบอนุญาตขับขี่แบบใหม่ล่าสุด
มาให้คุณผู้อ่านได้ทดลองทดสอบกันข้างล่างนี้:

หมวดกฏหมายว่าด้วยรถยนต์
หมวดกฏหมายว่าด้วยจราจรทางบก
หมวดเครื่องหมายพื้นทาง
หมวดป้ายบังคับ
หมวดป้ายเตือน
หมวดป้ายแนะนำ
หมวดมารยาทและจิดสำนึก
หมวดเทคนิคการขับรถอย่างปลอดภัย
หมวดการบำรุงรักษารถยนต์
หมวดรูปภาพจราจร
หมวดการรับรู้สถานการณ์อันตราย
ไฟล์แนบ: คุณไม่สามารถดูไฟล์แนบได้ จำเป็นต้อง เข้าสู่ระบบ แต่ถ้ายังไม่ได้เป็นสมาชิกก็ สมัครสมาชิก ก่อนนะครับ แล้วเรามาร่วมแบ่งปันความสุขกัน
Install by khemtat-l[at]hotmail.com

TOP

หลักเกณฑ์การขอรับใบขับขี่ชนิดชั่วคราว (สำหรับผู้ที่ยังไม่เคยมีใบขับขี่)

     คุณสมบัติของผู้ขอรับใบขับขี่ มีดังนี้

มีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์ แต่ถ้าเป็นผู้ขอใบขับขี่รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคลชั่วคราว
สำหรับรถจักรยานยนต์ที่มีขนาดความจุกระบอกสูบรวมกันไม่เกิน 110 ลูกบาศก์เซนติเมตร
ต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปีบริบูรณ์
มีความรู้ความสามารถในการขับรถ
มีความรู้ในข้อบังคับการเดินรถตามพระราชบัญญัติรถยนต์ และตามกฎหมายว่าด้วยการจราจรทางบก
ไม่เป็นผู้มีร่างกายพิการจนเป็นที่เห็นได้ว่าไม่สามารถขับรถได้
ไม่มีโรคประจำตัวที่ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมเห็นว่าอาจเป็นอันตรายขณะขับรถ
ไม่เป็นบุคคลวิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือน
ไม่มีใบขับขี่รถชนิดเดียวกันอยู่แล้ว
ไม่เป็นผู้อยู่ระหว่างถูกยึดหรือเพิกถอนใบขับขี่


     หลักฐานประกอบคำขอ

บัตรประชาชนฉบับจริงพร้อมสำเนา
ใบรับรองแพทย์ แสดงว่าผู้ขอไม่มีโรคประจำตัวอันอาจเป็นอันตรายขณะขับรถ
และไม่เป็นบุคคลวิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือน ซึ่งมีอายุใช้ได้ตามที่แพทย์ผู้รับรองกำหนด
แต่ต้องออกก่อนวันยื่นคำขอไม่เกิน 1 เดือน
Install by khemtat-l[at]hotmail.com

TOP

ขั้นตอนการดำเนินการ

     ผู้ต้องการขอรับใบขับขี่ สามารถจองคิวอบรมด้วยตนเองพร้อมหลักฐานประกอบคำขอ
ณ สำนักงานขนส่งในพื้นที่ใกล้เคียง ทางที่ดีสามารถจองคิวล่วงหน้าผ่านทางโทรศัพท์
ได้ที่หมายเลข 1584 หรือสำนักงานขนส่งพื้นที่ใกล้เคียงโดยตรง

ตรวจสอบเอกสาร และออกคำขอ
ทดสอบสมรรถภาพร่างกาย -  ทดสอบการมองเห็นสี, ทดสอบสายตาทางลึก,
ทดสอบสายตาทางกว้าง, ทดสอบปฏิกิริยาเท้า
อบรม (ไม่น้อยกว่า 4 ชั่วโมง)
ทดสอบข้อเขียนผ่านระบบ Electronic Examination (E-exam)
ทดสอบขับรถ
ชำระค่าธรรมเนียม / ถ่ายรูปพิมพ์ใบอนุญาต / จ่ายใบขับขี่
Install by khemtat-l[at]hotmail.com

TOP

เทคนิค 5 ข้อขับเกียร์ออโต้ให้ประหยัด

ปัจจุบันนี้ รถยนต์ส่วนใหญ่บนท้องถนนมักใช้เกียร์อัตโนมัติกันทั้งนั้น เนื่องจากความง่าย
และสะดวกสบายในการขับขี่ แต่เกียร์อัตโนมัติส่วนมากยังคงมีอัตราสิ้นเปลืองด้อย
กว่าเกียร์ธรรมดา เราจึงมาแนะนำ 5 เทคนิคขับรถยนต์เกียร์อัตโนมัติให้ประหยัดน้ำมัน
แบบง่ายๆกัน รับรองว่าถ้าปฏิบัติได้ตามนี้ รถของคุณจะประหยัดขึ้นอย่างแน่นอน

1. ออกตัวเบาๆไม่ต้องรีบ

     เป็นที่รู้กันว่าการจราจรในกรุงเทพมหานคร ไม่เอื้ออำนวยให้ใช้ความเร็วเท่าใดนัก
พ้นไฟแดงหนึ่งก็ไปติดอีกไฟแดงหนึ่งอยู่ดี ฉะนั้นจึงไม่มีความจำเป็นต้องเร่งเครื่องยนต์อย่างรุนแรง
เนื่องจากเกียร์ออโต้จะค่อยๆเปลี่ยนอัตราทดตามรอบเครื่องยนต์อยู่แล้ว การฝึกแตะคันเร่งเบาๆ
จะช่วยให้ประหยัดขึ้นได้มาก สังเกตได้จากเกียร์เปลี่ยนอัตราทดที่รอบต่ำเท่าไหร่
ก็จะประหยัดเพิ่มขึ้นเท่านั้น

     2. ขยับนิดหน่อย Walking Speed ก็พอ

     หากขับขี่ท่ามกลางสภาวะจราจรที่ติดขัดนั้น หากรถสามารถเคลื่อนตัวได้ทีละนิดๆ
ก็ใช้วิธีปล่อยเบรคให้รถค่อยๆเคลื่อนไปอย่างช้าๆก็พอ โดยปกติความเร็วเมื่อปล่อยเบรค
(ขณะใส่เกียร์ D) จะค่อยๆขึ้นไปแตะระดับ 10 กม./ชม.ได้สบายๆ ไม่จำเป็นต้องเหยียบ
คันเร่งก็ไม่ต้องเหยียบ ประหยัดได้อีกเยอะ
ไฟล์แนบ: คุณไม่สามารถดูไฟล์แนบได้ จำเป็นต้อง เข้าสู่ระบบ แต่ถ้ายังไม่ได้เป็นสมาชิกก็ สมัครสมาชิก ก่อนนะครับ แล้วเรามาร่วมแบ่งปันความสุขกัน
Install by khemtat-l[at]hotmail.com

TOP

3. หลีกเลี่ยงการคิกดาวน์

การคิกดาวน์ คือ การเหยียบคันเร่งให้หนักขึ้นกว่าปกติ เพื่อให้ลดระดับเกียร์ลงมา
ซึ่งจำเป็นกับการเร่งแซงเพื่อให้หนีพ้นสถานการณ์คับขัน แต่การขับขี่ตามจราจรปกติมัก
ไม่ต้องการอัตราเร่งขนาดนั้น ฉะนั้นผู้ขับจึงควรหลีกเลี่ยงการคิกดาวน์พร่ำเพรื่อบ่อยๆ
เพราะเท่ากับเป็นการซดน้ำมันอย่างมากเลยทีเดียว

4. เบรคน้อยลง ประหยัดขึ้นเยอะ

การเหยียบเบรคนั้น อาจไม่มีผลโดยตรงต่อการกินน้ำมัน แต่หากเราชะลอความเร็วลงแล้ว
ก็คงจำเป็นจะต้องเติมคันเร่งเพื่อให้รถกลับไปยังความเร็วปกติอีกครั้ง ซึ่งส่งผลต่อการกินน้ำมัน
ทางที่ดีจึงควรค่อยๆขับไปตามสภาพการจราจรดีกว่า การเว้นระยะคันหน้าอย่างเหมาะสม
ก็จะช่วยลดการเหยียบเบรคได้เป็นอย่างดี แถมยังลดความใจร้อนของผู้ขับได้อีกด้วย
ไม่เชื่อลองดูสิ!
ไฟล์แนบ: คุณไม่สามารถดูไฟล์แนบได้ จำเป็นต้อง เข้าสู่ระบบ แต่ถ้ายังไม่ได้เป็นสมาชิกก็ สมัครสมาชิก ก่อนนะครับ แล้วเรามาร่วมแบ่งปันความสุขกัน
Install by khemtat-l[at]hotmail.com

TOP

กลับไปยังรายบอร์ด
Image Hosted by CompGamer Image Host Image Hosted by CompGamer Image Host