"

Image Hosted by CompGamer Image Host      Image Hosted by CompGamer Image Host
กลับไปยังรายบอร์ด โพสต์ใหม่

PRINTING สำหรับงานป้าย

PRINTING สำหรับงานป้าย



ก่อนที่จะลงมานั่งเขียนเรื่อง 3D Printing สำหรับงานป้าย ก็มีความลังเลใจอยู่บ้าง เนื่องจากตัวผมเองก็เพิ่งเริ่มใช้ 3D Printing มาเพียงปีกว่า ๆ และก็ยังไม่ได้มีความรู้มากมายอะไร ประกอบกับเรื่อง 3D Printing นี้ เป็นเรื่องที่ กว้างมาก และถ้าจะให้ครอบคลุมให้ครบหมดในทุกแง่มุมผมคงจะต้องใช้เวลาศึกษาอีกนาน…


เนื่องจาก 3-4 ปีที่ผ่านมานี้ เวลาผมไปงาน Exhibition ที่เกี่ยวกับงานป้าย ไม่ว่าจะเป็นงานในประเทศอย่าง Sign Asia Expo หรืองานต่างประเทศเช่นงาน APPPEXPO ที่เซี่ยงไฮ้ ที่ผ่านมาไม่กี่ เดือนนี้ เราก็จะเห็นว่า เริ่มจะมีผู้ประกอบการเริ่มนำเอา 3D Printer ในรูปแบบต่าง ๆ ขนาดต่าง ๆ มาแสดงในงานเป็นจำนวนเพิ่มมากขึ้น และได้มีการปรับนำมาใช้ในงานที่เกี่ยวกับการผลิตป้ายได้ดี แต่กลับไม่ค่อยที่จะได้เห็นผู้ประกอบการของเรา มีการนำเอา 3D Printer เข้ามาประยุกต์ใช้งาน ผมจึงมีความคิดที่จะเขียนบทความนี้ เผื่อที่ว่าจะเป็นประโยชน์กับผู้ประกอบการผลิตป้ายบ้างไม่มากก็น้อย


ก่อนอื่นเรามาเริ่มรู้จัก 3D Printer กันก่อนนะครับ แน่นอนครับ 3D Printer มีไว้เพื่อพิมพ์วัตถุ 3 มิติ จากข้อมูล digital ในมุมมองของผม 3D Printer จะมีส่วนที่ทำงานคล้ายๆ กับ เครื่องพิมพ์ Inkjet บวกกับเครื่อง Router คือ เครื่อง 3D Printer นี้ จะมีหัวพิมพ์อาจจะหนึ่งหัวสองหัวหรือมากกว่านั้น เราเรียกมันว่า Nozzle เช่นเดียวกับหัวพิมพ์ในเครื่อง inkjet ต่างกันที่ว่า Nozzle สำหรับ 3D Printer นั้น มีขนาดใหญ่มากกว่ามาก เพื่อที่จะ ทำหน้าที่รับความร้อนจากชุดพิมพ์ ซึ่งอาจจะมีความร้อนถึง 240 องศาเซลเซียส เพื่อที่จะละลายวัสดุที่จะใช้พิมพ์ จากขดลวดของแข็ง ให้เป็นของเหลวและทำการฉีดเพื่อสร้างชิ้นงาน… การเคลื่อนที่ ของหัวพิมพ์นั้นเป็นการรับ G-code เข้ามาเพื่อกำหนดทิศทาง การเคลื่อนที่ของชุดพิมพ์ ก็จะมีลักษณะคล้ายๆ กับเครื่อง router หรือ milling machine ที่ใช้ทำงาน engraving หรือตัดวัสดุต่าง ๆ ด้วยดอกสว่าน นั่นคือการเคลื่อนที่ของหัวพิมพ์ จะเคลื่อนที่ไปตามแกน


X Y Z ซึ่งลักษณะของการเคลื่อนที่ของหัวพิมพ์นั้นก็จะมีความ แตกต่างกันออกไประหว่าง รุ่นและยี่ห้อของเครื่องคือบางเครื่อง (ที่ผมใช้อยู่) หัวพิมพ์จะเคลื่อนที่ตามแนว X และ Y ส่วนฐานพิมพ์ จะเคลื่อนที่ตามแกน Z บางรุ่นหัวพิมพ์ก็สามารถที่จะเคลื่อนที่ได้ ทั้ง 3 แกนพร้อมกันครับ…เมื่อมีการสั่งพิมพ์งานชุดหัวพิมพ์จะเริ่ม สร้างความร้อนเพื่อที่จะละลายวัสดุที่เราจะใช้พิมพ์ หรือที่เราเรียก กันว่า Filament และเมื่ออุณหภูมิถึงจุดที่ตั้งไว้ เครื่องก็จะเริ่มทำงาน โดยหัวพิมพ์ก็จะเริ่มเคลื่อนที่ไปตามแกน X Y Z และเริ่มฉีด Filament ออกมา Filament ที่ถูกฉีดออกมานี้ก็จะเริ่มแข็งตัวเกาะกันเป็นชั้นๆ ซึ่งเราจะเรียกชั้นเหล่านี้ว่า Layer และวิธีการพิมพ์ในลักษณะนี้ว่า Fused Deposition Modeling (FDM) ดังนั้น วัตถุที่ได้จากการพิมพ์ 3D ก็คือ ชั้นของ Filament ที่ถูกฉีดออกมาจากชุดพิมพ์ และแข็งตัว เกาะกันนั้นเองครับ

ในส่วนของ Filament หรือวัสดุที่จะใช้พิมพ์งาน 3D นั้น ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นวัสดุ Thermal Plastic ซึ่งในปัจจุบันก็มีให้เลือกใช้ ตามความต้องการได้หลากหลายชนิด เช่น ABS, PLA, Nylon, PP, PETG, Heat Resistant Plastic และอื่นๆ อีกมากและยังมีการพิมพ์ 3D โดยใช้ Ceramic แบบที่ใช้ทำจานชาม ceramic อีกด้วย…โดยที่ การเลือกใช้ของเรา จะดูที่คุณสมบัติต่าง ๆ ของ Filament แต่ละชนิด เหล่านั้น เช่น ความคงทนต่อ UV, ความแข็ง หรือความยืดหยุ่น, การทนความร้อนต่างๆ เหล่านี้เป็นต้น ในปัจจุบันก็มีผู้ผลิต จัดจำหน่าย Filament ทีความลักษณะที่แตกต่างกัน ทั้งสี ความโปร่งใส ผิวไม้ ผิวโลหะหรือแม้กระทั้ง Filament เรืองแสง…ส่วนตัว


โดยการทำ 3D scan ซึ่งวิธีนี้อาจจะมีความยุ่งยากบ้าง เพราะเมื่อทำการ scan แล้วอาจจะต้องมีการตกแต่ง file ให้มีความสมบูรณ์ พร้อมที่จะพิมพ์ต่อไป วิธีการนี้เราเรียกกันว่าการทำ Reversed Engineering ข้อดีของวิธีนี้คือ หากเรามีโลโก้ของลูกค้าอยู่แล้ว เราสามารถ 3D scan ได้เลย โดยไม่จำเป็นที่จะต้องสร้าง file ใหม่และนอกจากนั้นเรายังสามารถทำการปรับแต่ง file นั้น ไม่ว่าจะเป็นการปรับขนาด
ตัด หรือเพิ่มบางส่วน หรือแม้กระทั่งนำไปเชื่อมต่อกับ file อื่นๆ ได้… หากการทำ 3D scan และแต่ง model อาจจะยุ่งยากเกินไป
สำหรับมือใหม่ ปัจจุบันก็มีหลายที่ที่รับทำ 3D scan และทำ file ให้เราครับ


Billion Plus https://www.billion-plus.com
ขอบคุณบทความดีๆจากนิตยาสาร Graphics&Sign Magazine by TABDA
Install by khemtat-l[at]hotmail.com

Install by khemtat-l[at]hotmail.com

TOP

กลับไปยังรายบอร์ด
Image Hosted by CompGamer Image Host Image Hosted by CompGamer Image Host