"

Image Hosted by CompGamer Image Host      Image Hosted by CompGamer Image Host
กลับไปยังรายบอร์ด โพสต์ใหม่

ต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์ ได้กับรถยนต์ทุกประเภทเลยหรือไม่

แก้ไขครั้งสุดท้าย: 24/6/2019 15:58 โดย unyana

ทุกวันนี้ไม่ว่าจะเดินทางใกล้หรือไกล การมีรถยนต์เป็นของตัวเองเป็นสิ่งที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการเดินทางได้เป็นอย่างมาก เพราะการขับรถไปด้วยตนเองย่อมมีความสะดวกกว่าระบบขนส่งสาธารณะเป็นอย่างมาก เนื่องจากสามารถเลือกสถานที่ที่จะแวะพักได้ตามความต้องการในทุกเวลา แต่การเป็นเจ้าของรถยนต์สักคันหนึ่งนั้นย่อมมีหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบตามมา นั่นก็คือการต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์ การทำพรบ. และการตรวจสอบสภาพรถยนต์เมื่ออายุการใช้งานของครบอายุการใช้งานตามที่กำหนด ซึ่งเป็นภาระหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติตามระเบียบข้อกำหนดทางกฎหมาย โดยการที่หน่วยงานภาครัฐได้พัฒนาให้มีระบบการทำธุรกรรมทางการเงินผ่านทางออนไลน์นั้นจะช่วยอำนวยความสะดวกให้กับประชาชนมากยิ่งขึ้น เนื่องจากไม่ต้องเสียเวลาเดินทางไปที่กรมขนส่งหรือเสียเวลาต่อคิวอีกต่อไป อย่างไรก็ตามการดำเนินการชำระภาษีผ่านระบบออนไลน์นั้นมีข้อจำกัดคือไม่สามารถทำได้กับทุกประเภทของรถยนต์ ตามรายละเอียดดังต่อไปนี้
     1.ประเภทของรถที่สามารถต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์ได้ ปัจจุบันกรมการขนส่งอำนวยความสะดวกในการชำระค่าภาษีรถยนต์ผ่านระบบออนไลน์ เฉพาะรถกระบะ รถยนต์ 4 ประตู และรถตู้ เท่านั้น โดยยังไม่ให้การรองรับการชำระค่าภาษีในกรณีของรถบรรทุกและรถโดยสารมากกว่า 7 ที่นั่งขึ้นไป เพราะรถเหล่านี้จะต้องมีการตรวจสอบสภาพของรถตามวิธีการที่กรมขนส่งทางบกกำหนดเอาไว้เท่านั้น
     2.รถยนต์ที่ผ่านการใช้งานมาหลายปี หากรถยนต์ที่ใช้มีอายุการใช้งานมามากกว่า 6 ปีขึ้นไป อัตราภาษีจะเริ่มลดลงตามอัตราที่กรมขนส่งกำหนด แต่ถ้าในกรณีที่รถยนต์ผ่านการใช้งานมามากกว่า 7 ปีขึ้นไปนั้น จะสามารถดำเนินการต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์ได้ก็ต่อเมื่อนำรถยนต์เข้าไปตรวจสภาพก่อน โดยต้องดำเนินการตรวจสอบสภาพรถผ่านหน่วยงานที่ทางกรมขนส่งอนุญาตเท่านั้น สามารถสังเกตได้จากสัญลักษณ์ ตรอ. นั่นเอง
     3.การคำนวณอัตราภาษีที่แตกต่างกัน การคำนวณอัตราภาษีของรถยนต์แต่ละประเภทจะมีความแตกต่างกัน โดยในกรณีของภาษีรถกระบะ และภาษีรถยนต์ 4 ประตู จะคำนวณตามอัตรากำลังของเครื่องยนต์ในอัตราที่เท่ากันคือในช่วง 600 cc แรกอัตราภาษีจะอยู่ที่ cc ละ 50 สตางค์ แต่ในช่วงที่มีขนาดกำลังระหว่าง 601–1200 cc ต่อมา จะมีอัตราภาษีอยู่ที่ 1บาท 50สตางค์ ต่อ cc แต่หากรถมีกำลังมากเกินกว่า 1200 cc จะมีอัตราภาษีเป็น cc ละ 4 บาท ส่วนในกรณีของรถตู้อัตราภาษีจะพิจารณาตามน้ำหนักของตัวรถโดย รถที่มีน้ำหนักระหว่าง 2001–2500 กิโลกรัม อัตราภาษีจะเท่ากับ 1,650 บาท หากรถมีน้ำหนัก 1751–2000 กิโลกรัม อัตราภาษีคือ 1,350 บาท กรณีรถมีน้ำหนัก 1501–1750 กิโลกรัม อัตราภาษีจะเป็น 1,050 บาท น้ำหนักรถอยู่ใน 1251–1500 กิโลกรัม อัตราภาษีคือ 900 บาท น้ำหนักรถอยู่ระหว่าง 1001–1250 กิโลกรัม อัตราภาษีจะเท่ากับ 750 บาท น้ำหนักรถอยู่ที่ 751–1000 กิโลกรัม อัตราภาษีจะเป็น 600 บาท และหากน้ำหนักรถอยู่ใน 501-750 กิโลกรัม อัตราภาษีจะเท่ากับ 450 บาท
     4.กรณีรถยนต์ชำระภาษีเกินระยะเวลาที่กำหนด เจ้าของรถยนต์บางคนเคยชำระภาษีรถเก๋ง เกินกว่าระยะเวลา 1 ปีมาแล้ว นั่นเท่ากับว่าเคยชำระภาษีเกินกว่าระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด และมีข้อสงสัยว่าจะสามารถต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์ได้หรือไม่ ซึ่งระบบออนไลน์ของกรมขนส่งนั้นสามารถรองรับรถที่มีการชำระภาษีเกินกว่าที่กำหนดเอาไว้ด้วย แต่ก็จะมีอัตราเปรียบเทียบปรับที่เจ้าของรถจะต้องชำระเพิ่มเติมด้วย โดยคิดค่าปรับในอัตราร้อยละ1 ของอัตราภาษีที่จะต้องชำระ และค่าปรับจะยิ่งสูงขึ้นหากทิ้งระยะเวลาไว้นานหลายเดือน และหากนานเกินกว่า3ปี เจ้าของรถจะถูกยึดเลขทะเบียน ซึ่งจะทำให้เกิดความยุ่งยากในการดำเนินการและกลายเป็นมีภาระค่าใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้น
     หลังจากทำการตรวจตรวจสอบรายละเอียดรายละเอียดต่างๆ ตามที่กล่าวไปข้างต้นเรียบร้อยแล้ว หากมีข้อสงสัยก็สามารถติดต่อสอบถามได้ตามช่องทางที่กรมขนส่งกำหนดเอาไว้ในเว็บไซต์ และเจ้าของรถคนใดที่อยู่ในเกณฑ์การให้บริการของกรมขนส่งก็สามารถดำเนินการได้ทันที และเมื่อยื่นเรื่องแล้วเจ้าของรถยังสามารถติดตามสถานะของการดำเนินการต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์ได้ตลอดเวลาอีกด้วย ถือเป็นความสะดวกที่เพิ่มมากขึ้นกว่าในอดีต
ไฟล์แนบ: คุณไม่สามารถดูไฟล์แนบได้ จำเป็นต้อง เข้าสู่ระบบ แต่ถ้ายังไม่ได้เป็นสมาชิกก็ สมัครสมาชิก ก่อนนะครับ แล้วเรามาร่วมแบ่งปันความสุขกัน
Install by khemtat-l[at]hotmail.com

กลับไปยังรายบอร์ด
Image Hosted by CompGamer Image Host Image Hosted by CompGamer Image Host