ก้องวัลเล่ย์ ไร่กาแฟสัญชาติไทยคุณภาพระดับสากล
น้ำเป็นของปลา ฟ้าเป็นของนก แต่ภูเขาเป็นของอิ่วเมี่ยน พี่ก้อง - สุพจน์ กรประสิทธิ์วัฒน์ เจ้าของกาแฟก้องวัลเล่ย์ หันมาพูดประโยคนี้กับเรา ขณะขับจี๊ปปุเลงๆ บนทางคดเคี้ยว สู่บ้านในกรัง เกือบสามสิบปีแล้วที่ชาวผ่าอิ่วเมี่ยนอพยพจาก ภาคเหนือมาอยู่ในปปักษ์ใต้ หมู่บ้านชาวภูเขาซ่อนตัวอยู่ใน มุมลับของอำเภอกระบุรีที่แม้กระทั่งคนระนองเองอาจไม่รู้จัก คนนอกเรียกพวกเขาวเย้า แต่ชื่อแท้จริงที่พวกเขาเรียกตัวเอง คืออิ่วเมี่ยน เหมือน บกลก ที่แปลว่ามนุษย์ สาวๆ นุ่งชุดประจำผ่าสีดำแดงและเครื่องเงินรอต้อนรับ พวกเราและ "ครูก้อง' อยู่แล้วเมื่อเราเดินทางไปถึงในตอนเย็น สองปีก่อนหน้านี้ เจ้าของก้องวัลเล่ย์เข้ามาสอนชาวอิ่วเมี่ยน คั่วกาแฟและผลิตกาแฟโรบัสต้พรีเมียม กาเอสเพรสโซร้อนๆ กับกาน้ำชาคอกกาแฟที่เก็บได้แค่ปีละครั้งจึงตั้งเตรียมพร้อม บนโตกสานสำหรับแกล้มบทสนทนา "เรามาจากอำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชรครับ ตอนนี้หลักๆ เราทำไร่กาแฟ ทุเรียน แล้วก็หมาก เหมือนสวน คอนโดที่มีพีช 3 ชนิดอยู่ในสวนเดียวกัน ชั้นแรกคือกาแฟ สูงขึ้นไปคือทุเรียน ชั้นที่สามคือหมาก พื้นที่มันเหมาะกับการ เพาะปลูก และสร้างรายได้พออยู่ได้ให้เกษตรกรที่นี่" อาเซ็ง - เฉงโจว แช่ฟุ้ง หัวหน้ากลุ่มพัฒนากาแฟเอ่ยปาก เล่าเรื่องเมื่อเราล้อมวงกันใต้เงาไม้ ประชากรเจ็ดสิบกว่าชีวิตที่นี่ ล้วนเป็นญาติกัน ยึดอาชีพกษตรกรรมทั้งหมด แต่ละครัวเรือน ก็ร่วมผลิตกาแฟคุณภาพส่งให้ก้องวัลเล่ย์ราวปีละพันกว่าตัน "ตั้งแต่รู้จักครูก้อง มีความเปลี่ยนแปลงเรื่องกาแฟ ทั้งราคา และคุณภาพ ตอนนี้ทุกคนดื่มกาแฟคั่วเอง เราไม่ได้ซื้อกาแฟ ที่ตลาด เมื่อก่อนเราคิดว่ามันทำยาก ไม่รู้วิธีการว่าต้องทำยังไง แต่พอทำเองก็รู้ว่าทำได้"
อาเก๊ - คมสันต์ แซ่เต๋ง ผู้ใหญ่อีกคนในหมู่บ้านกล่าว เสริม เป้าหมายในอนาคตของชาวอิ่วเมี่ยนคือผลิตกาแฟแบรนด์ ของตัวเอง แม้ยังไม่มั่นใจเรื่องการตลาดนัก แต่กาแฟหอมเข้ม กับชาดอกไม้หวานละมุนที่เราได้จิบก็บอกใบ้ว่าฝ่ายการผลิต พร้อมเต็มที่แล้ว "เราภูมิใจกับงานของเรานะ เคยส่งทั้งกาแฟคั่วและชา ดอกกาแฟให้เพื่อนที่ลำปางชิม เขาโทรมาบอกว่าไม่คิดว่ากาแฟ เราจะหอมอร่อย เขาก็ปลูกกาแฟเหมือนกัน แต่เป็นอราบิก้า" อาเซ็งพูดอย่งจริงใจ "บางทีคนข้างนอกก็ไม่เข้าใจ มีช่วงหนึ่ง คนเขาพูดว่าชาวเขาคือคนที่ทำลายบำ คนที่ค้ายาเสพติด อะไร ประมาณนี้ ทั้งที่ปัจจุบันเลิกราไปหมดแล้ว อาจจะมีเมื่อห้าสิบปี ที่แล้ว คือชาวเขาอยู่บนที่สูงมาก พืชที่สร้งรายได้ให้คนบนพื้นที่ สูงขนาดนั้นคือฝิ่นตัวเดียว ปลูกพืชอื่นเอามาจำหน่ายให้พ่อค้า ไม่ได้"
จากเขาลูกหนึ่งสูเขาอีกลูก ประวัติศาสตร์ของชาวอิ่วเมี่ยน เปลี่ยนไปแต่ละบทเมื่อการย้ายถิ่นเกิดขึ้น เช่นเดียวกับจำนวน ผู้คนในผ่าที่ต้องแยกจากกันทุกครั้งที่มีความเปลี่ยนแปลงตั้งแต่ รุ่นปู่ย่าตายายที่ตะเข็บชายแดนไทย-ลาว ไล่มาจนถึงพะเยา กำแพงเพชร และเมื่อบริวณน้ำตกคลองลานถูกประกาศให้เป็น อุทยานแห่งชาติ พวกเขาก็ต้องอพยพอีกครั้ง "นี่ถ้าต้องย้ายอีกก็ไม่รู้จะย้ายไปไหนแล้วครับ มีแต่ลง ทะเล" pussy888 หัวหน้ากลุ่มอิ่วเมี่ยนที่เดินทางมาไกลที่สุดพูดยิ้มๆ จาก ปเหนือสู่ป่ใต้ ความเชื่อและวิถีชีวิตของพวกเขาไม่ได้เปลี่ยน ไปมากนักจากกลุ่มภาคเหนือ จะต่งกันก็แค่พืชที่ปลูก แต่ชาว เผ่ายังคงนิยมกิจกรรมปักผ้าด้วยมือ ใช้ภาษาเฉพาะตัวที่เขียน ด้วยตัวอักษรจีนฮั่น และทุกเทศกาลตรุษจีน ทำบุญพิธีใหญ่ หรือโรงเวียนปิดเทอมใหญ่ พวกเขาจะกลับไปเยี่ยมญาติพี่น้อง เสมอ อิ่วเมี่ยนทั้งโลกมีแค่ 12 ตระกูลเท่านั้น สายใยระหว่าง คนของภูเขาจึงแนบแน่นแม้มีระยะทางกั้นกลาง "ช่วงปลายร้อนต้นฝนที่นี่ก็สวยและหนาว ประมาณเดือน พฤษภาคม มีทะเลหมอกสวยมากไม่แพ้ภาคเหนือเลยครับ จะ แวะมาชิมผลผลิต มาคุยกับชาวบ้านก็ได้ แต่ถ้าจะมาต้องบอก ล่วงหน้าก่อน เพราะแต่งตัวแบบนี้มันเหนื่อยมาก" |