- โพสต์แล้ว
- 918
- ตั้งกระทู้
- 920
- ระดับการใช้งาน
- 10
- ออนไลน์
- 116 ชัวโมง
- สมัครสมาชิกเมื่อ
- 10/12/2018
- เข้าระบบล่าสุด
- 26/4/2025
|
พรบ. รถยนต์ โดย DirectAsia
พรบ. รถยนต์ เป็นการประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับที่กรมการขนส่งทางบก บังคับให้พาหนะทางบกทุกชนิดต้องทำประกัน นอกจากการประกันภาคสมัครใจต่าง ๆ แล้ว ไม่ว่าจะเป็นการทำประกันภัยรถยนต์ประเภทอื่น ๆ ก็ตาม เช่นประกันชั้น 1 หรือการประกัน รถยนต์ 2 หรือชั้นอื่น ๆ ก็ต้องทำ พรบ. นี้คู่กันไว้ด้วยเสมอ
พรบ. คือ อะไร จำเป็นต้องทำหรือไม่
พรบ. คือ คำที่เรามักจะได้ยินกันบ่อย ๆ จนอาจเรียกได้ว่าติดหูไปแล้วก็ได้ แต่หลายคนอาจยังไม่รู้ว่ามัน คืออะไร ซึ่งความจริงแล้ว พรบ. ก็คือการประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับนั่นเอง ซึ่งกฎหมายจะใช้บังคับให้รถทุกคันจำเป็นต้องทำประกันนี้เพื่อการคุ้มครองสำหรับผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 โดยกฎหมายกำหนดให้ยานพาหนะทางบกทุกประเภทที่จดทะเบียนกับกรมการขนส่งทางบกจำเป็นต้องทำประกันภัยประเภทนี้ เพื่อประกันและให้ความคุ้มครองกับตัวบุคคลที่ได้รับผลจากอุบัติเหตุ โดยไม่คำนึงว่าบุคคลที่ได้รับผลกระทบจากอุบัติเหตุเหล่านั้นจะเป็นผู้ที่กระทำความผิดหรือไม่ ซึ่งกฎหมายให้ความคุ้มครองคู่กรณีและผู้เอาประกันภัยเมื่อเกิดอุบัติเหตุในรูปแบบของเงินชดเชย และค่าดูแลรักษาพยาบาลตามที่กำหนด รถทุกชนิดทุกประเภทที่ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์ ไฟฟ้า หรือพลังงานอื่น ๆ เช่น รถจักรยานยนต์ รถยนต์ รถโดยสาร รถพ่วง รถสิบล้อ จำเป็นต้องทำ พรบ. ทั้งสิ้น ส่วนรถที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องทำ พรบ. คือรถเฉพาะองค์พระมหากษัตริย์ พระราชทายาทหรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ รถของสำนักพระราชวังที่จดทะเบียนและมีเครื่องหมายตามพระราชวังกำหนด รถของกระทรวง ทบวง กรม ส่วนราชการ รถทหาร และรถของหน่วยงานธุรการขององค์กรที่จัดขึ้นตามรัฐธรรมนูญ
หลายคนอาจยังไม่หมดความสงสัยว่าทำไมถึงต้องทำ พรบ. เนื่องจากการทำประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับนี้มีความจำเป็นมาก ดังนี้
1. เป็นหน้าที่ของเจ้าของรถที่ต้องถือปฏิบัติตามกฎหมายกำหนด
2. กฎหมายได้กำหนดให้มีส่วนร่วมในการสร้างหลักประกันต่อสังคม
3. เป็นการแบ่งเบาภาระของผู้ที่ขับขี่ หรือเจ้าของรถหากต้องรับผิดชอบ เมื่อเกิดอุบัติเหตุ
4. เป็นมาตรการเพื่อลดปัญหาทางสังคมด้านหนึ่ง ซึ่งไม่ต้องรอการพิสูจน์ความผิด
5. เป็นมาตรการบรรเทาผลร้ายต่อผู้เสียหายหากเกิดการรับผิดชอบ
6. เป็นการแบ่งเบาภาระของรัฐด้านการรักษาทรัพยากรมนุษย์
การทำ พรบ. ของเจ้าของรถถือได้ว่าเป็นผู้ที่ได้ปฏิบัติถูกต้องตามกฎหมาย และได้รับสิทธิ์ความคุ้มครองต่อชีวิตทันที ซึ่งจะสังเกตได้จากการที่เราขับขี่รถ มักจะพบตำรวจตั้งด่านตรวจสิ่งแรกและเป็นจุดสังเกตของตำรวจคือแผ่นป้ายพรบ. ที่ติดอยู่ในจุดที่มองเห็นได้ชัดเจนว่าหมดอายุหรือไม่ หากหมดอายุ จะต้องเสียค่าปรับเป็นเงิน 200 บาท หรือหากเป็นรถที่ใช้งานอยู่ แต่ยังไม่ได้จดทะเบียนเสียภาษีจะต้องเสียค่าปรับเป็นเงิน 1,000 บาท สำหรับความคุ้มครองผู้ประสบเหตุจะได้รับความคุ้มครอง จ่ายค่ารักษาพยาบาลให้ไม่เกิน 50,000 บาทต่อคน กรณีการเสียชีวิตหรือทุพพลภาพถาวรจ่ายไม่เกิน 100,000 บาทต่อคน ซึ่งจะเห็นได้ว่าข้อดีสำหรับการทำ พรบ. นั้นมีอยู่หลายข้อ เพราะจะส่งผลดีต่อผู้ใช้รถหรือคู่กรณีด้วยกันหากเมื่อเกิดเหตุการณ์ที่ไม่สามารถคาดเดาได้ เช่น เกิดอุบัติเหตุในช่วงที่ประกันรถหมดอายุแต่ พรบ. ก็สามารถรองรับปัญหาที่เกิดขึ้นในระดับหนึ่งได้เช่นกัน |
|