"

Image Hosted by CompGamer Image Host      Image Hosted by CompGamer Image Host
กลับไปยังรายบอร์ด โพสต์ใหม่

เกรดของน้ำมันเครื่อง

เกรดของน้ำมันเครื่อง

Credit From www.dbigbike.com ครับ

อ่านแล้วยาวพอสมควรเลยครับ แต่ก็เพื่อประโยชน์ในการเลือกน้ำมันเครื่องครับ



เกรดน้ำมันเครื่อง

ความ
หมายของที่อยู่ข้างกระป๋องนั้น มีความสำคัญต่อการใช้งานของเครื่องยนต์
เราสามารถแบ่งเกรดน้ำมันเครื่องออกได้ สองประเภทด้วยกัน ดังนี้

-แบ่งตามความหนืด
-แบ่งตามสภาพการใช้งาน

การแบ่งเกรดน้ำมันเครื่องตามความหนืด


        จะเป็นที่คุ้นเคยและใช้กันมานานแล้ว
และเป็นมาตรฐานที่ใช้อ้างอิงของอีกหลายสถาบันที่ตั้งขึ้นมาทีหลังอีกด้วย
พูดถึงมาตรฐาน " SAE" คงจะรู้จักกันมาตรฐานนี้ก่อตั่งโดย
"สมาคมวิศวกรยานยนต์" ของอเมริกา ( Society of Automotive Engineers)
การแบ่งเกรดของน้ำมันเครื่องแบบนี้จะแบ่งเป็นเบอร์ เช่น 30,40,50
ซึ่งตัวเลขแต่ละชุดนั้นจะหมายถึงค่าความข้นใสหรือค่าความหนืดของน้ำมันหล่อ
ลื่น โดยน้ำมันที่มีเบอร์ต่ำจะใสกว่าเบอร์สูง
ตัวเลขที่แสดงอยู่นั้นจะมาจากการทดสอบที่อุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส
หมายความว่าที่อุณหภูมิทำการทดสอบ น้ำมันเบอร์ 50
จะมีความหนืดมากกว่าน้ำมันเบอร์ 30 เป็นต้น

      
น้ำมันที่มีตัว " W" ต่อท้ายนั้นย่อมาจากคำว่า Winter
เป็นน้ำมันเครื่องที่เหมาะสำหรับใช้ในอุณหภูมิต่ำ
ยิ่งตัวเลขน้อยยิ่งมีความข้นใสน้อย จะวัดกันที่อุณหภูมิต่ำ - 18
องศาเซลเซียสน้ำมันเบอร์ 5W จะมีความข้นใสน้อยกว่าเบอร์ 15W
นั่นหมายความว่าตัวเลขสำหรับเกรดที่มี " W" ต่อท้ายเลขยิ่งน้อย
ยิ่งคงความข้นใสในอุณหภูมิที่ติดลบมาก ๆ
ได้เหมาะสำหรับใช้งานในประเทศที่มีภูมิอากาศหนาวเย็นมาก อย่างเกรด 0W
นั้นสามารถคงความข้นใสได้ถึงประมาณ - 30 องศาเซลเซียส เกรด 20 W
สามารถคงความข้นใสได้ถึงอุณหภูมิประมาณ - 10 องศาเซลเซียส
น้ำมันเครื่องทั้งสองเกรดนี้เรียกว่า "น้ำมันเครื่องชนิดเกรดเดียว" (
Single Viscosity หรือ Single Grade)

      
ส่วนน้ำมันเครื่องชนิดเกรดรวม ( Multi Viscosity หรือ Multi Grade)
นั้นทาง SAE ไม่ได้เป็นผู้กำหนดมาตรฐานของน้ำมันเกรดรวม
แต่เกิดจากการที่ผู้ผลิตสามารถปรับปรุงโดยใช้สารเคมีเข้ามาผสมจนสามารถทำให้
น้ำมันเครื่องนั้น ๆ มีมาตรฐานเทียบเท่ากับมาตรฐานของ SAE
ทั้งสองแบบได้เพื่อให้เกิดความหลากหลายในการใช้งานตามสภาพภูมิประเทศที่มี
อุณหภูมิต่างกันมาก
การผสมสารปรับปรุงคุณภาพนั้นแตกต่างกันมากน้อยตามความต้องการในการใช้งาน
ไม่ว่าจะเป็นเกรด 5W-40 หรือ 15W-50
แต่การแบ่งเกรดของน้ำมันเครื่องตามความหนืดที่เราเรียกกันเป็นเบอร์นี้
สามารถบอกได้แค่ช่วงความหนืดเท่านั้นแต่ไม่ได้บ่งบอกถึงระดับในการใช้งานของ
เครื่องยนต์แต่ละประเภท

          ต่อมาในประมาณปี 1970 SAE,API
และ ASTM (American Society for Testing and Masterials)
ได้ร่วมมือกันกำหนดการแยกน้ำมันเครื่องตามสภาพการทำงานของเครื่องยนต์เพื่อ
ให้สอดคล้องกับเทคโนโลยี่เครื่องยนต์ที่พัฒนาขึ้น
เราจึงเห็นได้เห็นจากข้างกระป๋องบรรจุ ตัวอย่างเช่น
การบอกมาตรฐานในการใช้งานไว้ API SJ/CF และมีค่าความหนืดของ SAE 20W-50
ควบคู่กันไปด้วยแสดงว่าน้ำมันเครื่องชนิดนี้สามารถใช้กับเครื่องยนต์เบนซิน
ได้เทียบเท่าเกรด SJ ถ้าใช้กับเครื่องยนต์ดีเซลจะเทียบเท่าเกรด CF
ที่ค่าความหนืด SAE 20W-50

การกำหนดมาตราฐานของน้ำมันเครื่องตามสภาพการใช้งาน

          สามารถแบ่งมาตรฐานของน้ำมันเครื่องโดยอ้างอิงสถาบันใหญ่ได้หลายสถาบัน เช่น
               สถาบัน "API" หรือสถาบันปิโตรเลียมแห่งสหรัฐอเมริกา
               สถาบัน " ACEA" ( เดิมเรียก CCMC) เกิดจากการรวมตัวของสมาคมผู้ผลิตยานยนต์ในตลาดร่วมยุโรป
               สถาบัน "JASO" เกิดจากการรวมตัวของสถาบันกลุ่มผู้ผลิตรถยนต์ในประเทศญี่ปุ่น


        จะเห็นได้ว่าแต่เดิมสถาบัน API ซึ่งเคยมีบทบาทมากในอดีต
และเป็นสถาบันที่กลุ่มผู้ผลิตรถยนต์ทั่วโลกยอมรับ
ปัจจุบันในกลุ่มประเทศยุโรปและญี่ปุ่นก็ได้มีการออกมาตรฐานขึ้นมาเป็นของตน
เองเช่นกัน

          คำว่า "API" ย่อมาจาก " American Petroleum
Institute" หรือสถาบันปิโตรเลียมแห่งอเมริกา
ซึ่งจะแบ่งเกรดน้ำมันหล่อลื่นตามสภาพการใช้งานเป็นสองประเภทใหญ่ ๆ
ตามชนิดของน้ำมันเชื้อเพลิงที่ใช้ก็คือ
                "API"
ของเครื่องยนต์ที่ใช้น้ำมันเบนซินเป็นเชื้อเพลิงใช้สัญลักษณ์ "S" (Service
Stations Classifications) นำหน้า เช่น SA, SB, SC, SD, SE, SF, SG, SH,
และ SJ
                "API"
ของเครื่องยนต์ที่ใช้น้ำมันดีเซลเป็นเชื้อเพลิง ใช้สัญลักษณ์ " C"
(Commercial Classifi-cations) นำหน้าเช่น CA, CB, CC, CD, CD-II, CF,
CF-2, CF-4, และ CG-4
            
เรามาดูน้ำมันเครื่องที่ใช้น้ำมันเบนซินเป็นเชื้อเพลิงกันก่อนจะใช้
สัญลักษณ์ "S" และตามด้วยสัญลักษณ์แทนน้ำมันเกรดต่าง ๆ
ที่แบ่งได้ตามเกรดดังต่อไปนี้
               SA สำหรับเครื่องยนต์เบนซินใช้งานเบาไม่มีสารเพิ่มคุณภาพ

             SB
สำหรับเครื่องยนต์เบนซินใช้งานเบามีสารเพิ่มคุณภาพเล็กน้อย
และสารป้องกันการกัดกร่อนไม่แนะนำให้ใช้ในเครื่องยนต์รุ่นใหม่
     
         SC สำหรับเครื่องยนต์เบนซินที่ผลิตระหว่าง คศ. 1964-1967
โดยมีคุณภาพสูงกว่ามาตรฐาน SB เล็กน้อย เช่น มีสารควบคุมการเกิดคราบเขม่า
               SD สำหรับเครื่องยนต์เบนซินที่ผลิตระหว่าง คศ. 1968-1971 โดยมีสารคุณภาพสูงกว่า SC และมีสารเพิ่มคุณภาพมากกว่า SC

             SE สำหรับเครื่องยนต์เบนซินที่ผลิตระหว่าง คศ. 1971-1979
มีสารเพิ่มคุณภาพเพื่อเพิ่มสมรรถนะให้สูงกว่า SD และ SC
และยังสามารถใช้แทน SD และ SC ได้ดีกว่าอีกด้วย
               SF
สำหรับเครื่องยนต์เบนซินที่ผลิตระหว่าง คศ. 1980-1988
มีคุณสมบัติป้องกันการเสื่อมสภาพสามารถจะทนความร้อนสูงกว่า SE
และยังมีสารชำระล้างคราบเขม่าได้ดีขึ้น
               SG
เริ่มประกาศใช้เมื่อเดือนมีนาคม คศ. 1988 มีคุณสมบัติเพิ่มขึ้นกว่ามาตรฐาน
SF โดยเฉพาะมีสารป้องกันการสึกหรอ สารป้องกันการกัดกร่อน
สารป้องกันสนิมสารป้องกันการเสื่อมสภาพเนื่องจากความร้อน
และสารชะล้าง-ละลาย และย่อยเขม่าที่ดีขึ้น
               SH
เริ่มประกาศใช้เมื่อปี คศ. 1994
เนื่องจากบริษัทผู้ผลิตเครื่องยนต์ได้มีการพัฒนาเครื่องยนต์อย่างรวดเร็วมี
ระบบใหม่ ๆ ในเครื่องยนต์ที่ถูกคิดค้นนำเข้ามาใช้ เช่น ระบบ Twin Cam,
Fuel Injector, Multi-Valve, Variable Valve Timing
และยังมีการติดตั้งระบบแปรสภาพไอเสีย (Catalytic Convertor) เพิ่มขึ้น

             SJ เป็นมาตรฐานสูงสุดในปัจจุบัน เริ่มประกาศใช้เมื่อ คศ.
1997 มีคุณสมบัติทั่วไปคลายกับมาตรฐาน SH
แต่จะช่วยประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิงได้ดีกว่ามีค่าการระเหยตัว ( Lower
Volatility) ต่ำกว่าทำให้ลดอัตราการกินน้ำมันเครื่องลงและมีค่าฟอสฟอรัส (
Phosphorous) ที่ต่ำกว่าจะช่วยให้เครื่องกรองไอเสียใช้งานได้นานขึ้น


        สำหรับเครื่องยนต์ดีเซลจะใช้สัญลักษณ์ "C" (Commercial
Classifications) และตามสัด้วยสัญลักษณ์ที่แทนด้วยน้ำมันเกรดต่าง ๆ
โดยจะแบ่งตามลักษณะเครื่องยนต์ที่ใช้งานแตกต่างกัน
                CA
สำหรับเครื่องยนต์ดีเซลที่ใช้งานเบา
เหมาะสำหรับเครื่องยนต์ดีเซลที่ผลิตขึ้นระหว่าง คศ. 1910-1950
มีสารเพิ่มคุณภาพเล็กน้อย เช่น สารป้องกันการกัดกร่อน
สารป้องกันคราบเขม่าไปเกาะติดบริเวณลูกสูบผนังลูกสูบและแหวนน้ำมัน

              CB สำหรับเครื่องยนต์ดีเซลธรรมดา งานเบาปานกลาง
มาตรฐานนี้เริ่มประกาศใช้เมื่อ คศ. 1949 มีคุณภาพสูงกว่า CA
โดยสารคุณภาพดีกว่า CA
                CC
สำหรับเครื่องยนต์ที่ติดซุปเปอร์ชาร์จหรือเทอร์โบ
มาตรฐานนี้เริ่มประกาศใช้เมื่อ คศ. 1961 ซึ่งมีคุณภาพสูงกว่า CB
โดยเพิ่มคุณสมบัติในการป้องกันคราบเขม่ามีสารป้องกันสนิมและกัดกร่อน
ไม่ว่าเครื่องยนต์จะร้อนหรือเย็นจัดก็ตาม
               CD
สำหรับเครื่องยนต์ที่ติดซุปเปอร์ชาร์จหรือเทอร์โบที่ใช้งานหนัก
และรอบจัดเริ่มประกาศใช้ คศ. 1955 มีคุณภาพสูงกว่า CC
            
CD-II สำหรับเครื่องยนต์ดีเซล 2 จังหวะ เริ่มประกาศใช้เมื่อปี 1988
ส่วนใหญ่เป็นเครื่องยนต์ดีทรอยด์ ซึ่งใช้ในกิจการทางทหาร
           
   CE สำหรับเครื่องยนต์ที่ติดซุปเปอร์ชาร์จหรือเทอร์โบที่ใช้งานหนัก
และรอบจัดเริ่มประกาศใช้ คศ. 1983 มีคุณภาพสูงกว่า CD
ป้องกันการกินน้ำมันเครื่องได้อย่างดีเยี่ยม
               CF
เป็นมาตรฐานสูงสุดในเครื่องยนต์ดีเซลในปัจจุบัน สำหรับเกรดธรรมดา ( Mono
Grade) เริ่มประกาศใช้เมื่อ คศ. 1994
เหมาะสำหรับเครื่องยนต์ดีเซลทุกชนิดไม่ว่าจะใช้ งานหนักหรือเบา
สามารถใช้แทนในมาตรฐานที่รอง ๆ ลงมา เช่น CE, CD, CC ได้ดีกว่าอีกด้วย

            CF-2 สำหรับเครื่องยนต์ดีเซลรุนใหม่ 2
จังหวะเริ่มประกาศใช้เมื่อปี 1994 ส่วนใหญ่เป็นเครื่องยนต์ดีทรอยด์
ซึ่งใช้ในกิจการทางทหาร
              CF-4
สำหรับเครื่องยนต์ดีเซลรุ่นใหม่ 4
จังหวะที่ติดซุปเปอร์ชาร์จหรือเทอร์โบที่ใช้งานหนักและรอบจัด
เริ่มประกาศใช้เมื่อปี 1990 เป็นน้ำมันเครื่องเกรดรวม
สามารถป้องกันการกินน้ำมันเครื่องได้ดีเยี่ยม
              CG-4
สำหรับเครื่องยนต์ดีเซลรุ่นใหม่ 4
จังหวะซึ่งเป็นมาตรฐานสูงสุดในในปัจจุบัน เริ่มประกาศใช้ปี 1996
เป็นน้ำมันเครื่องเกรดรวม

          มาตรฐานน้ำมันเครื่อง ACEA
ย่อมาจาก The Association des Constructeurs Europeens d'Automobile
หรือเป็นทางการว่า European Automobile Manufarturer' Association
สมาคมผู้ผลิตยานยนต์ในตลาดร่วมยุโรบซึ่งได้แก่ ALFA ROMEO, BRITISH
LEYLAND, BMW, DAF, DAIMLER-BENZ, FIAT, MAN, PEUGEOT, PORSCHE, RENAULT,
VOLKSWAGEN, ROLLS-ROYCE, และ VOLVO ได้มีการกำหนด
มาตรฐานโดยเริ่มใช้อย่างเป็นทางการเมื่อ 1 มกราคม 1996 โดยยกเลิกมาตรฐาน
CCMC ไปเนื่องจาก ACEA
มีสถาบันเข้าร่วมโครงการมากกว่าและมีข้อกำหนดที่เด่นชัด

           มาตรฐานสำหรับเครื่องยนต์เบนซิน (Gasoline (Petron) Engines)
                A 1-96 มาตรฐานที่ใช้สำหรับเครื่องยนต์เบนซินทั่วไป
                A 2-96 มาตรฐานพิเศษสูงขึ้นไปอีก
                A 3-96 มาตรฐานสูงสุดสำหรับเครื่องยนต์เบนซินในปัจจุบัน

          มาตรฐานสำหรับเครื่องยนต์ดีเซลขนาดเล็ก (Light Duty Diesel Engines)
                B 1-96 มาตรฐานที่ใช้สำหรับเครื่องยนต์ดีเซลขนาดเล็กทั่วไป
                B 2-96 มาตรฐานพิเศษสูงขึ้นไปอีก
                B 3-96 มาตรฐานสูงสุดสำหรับเครื่องยนต์ดีเซลขนาดเล็กในปัจจุบัน

          มาตรฐานสำหรับเครื่องยนต์ดีเซลขนาดใหญ่ (Heavy Duty Diesel Engines)
                E 1-96 มาตรฐานที่ใช้สำหรับเครื่องยนต์ดีเซลขนาดใหญ่ทั่วไป
                E 2-96 มาตรฐานพิเศษสูงขึ้นไปอีก
                E 3-96 มาตรฐานสูงสุดสำหรับเครื่องยนต์ดีเซลในปัจจุบัน


       มาตรฐานน้ำมันเครื่อง JASO ย่อมาจาก Japanese Automobile Standard
Organization หรือกลุ่มผู้ผลิตรถยนต์ในประเทศญี่ปุ่น
ซึ่งเเป็นกลุ่มที่มีบทบาทมากขึ้นในปัจจุบัน ต่อมาเรียกรวมเป็นมาตรฐาน ISO
โดยเเบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
           เครื่องยนต์เบนซิน
                 JSE (ISO-L-EJGE) เทียบพอๆ กับมาตรฐาน API SE หรือ CCMC G1 โดยเน้นป้องกันการสึกหรอบริเวณวาล์วเพิ่มขึ้น
                 JSG (ISO-L-EJDD) เทียบกับมาตรรฐานสูงกว่า API SG หรือ CCMC G4 โดยเน้นป้องกันการสึกหรอบริเวณวาล์วเพิ่มขึ้นไปอีก
           เครื่องยนต์ดีเซล

              JASO CC (ISO -L-EJDC)
โดยกำหนดว่าต้องผ่านการทดสอบโดยเครื่องยนต์นิสสัน SD 22 เป็นเวลา 50
ชั่วโมง เทียบได้กับ API CC เป็นอย่างต่ำ
               JASO CD
(ISO -L-EJDD) โดยกำหนดว่าต้องผ่านการทดสอบโดยเครื่องยนต์นิสสัน SD 22
เป็นเวลา 100 ชั่วโมง เทียบได้กับ API CD เป็นอย่างต่ำ


มาตรฐานน้ำมันเครื่องแห่งกองทัพสหรัฐ
          มาตรฐาน MIL-L-2104 เป็นมาตรฐานของน้ำมันหล่อลื่นที่กำหนดขึ้นสำหรับเครื่องยนต์ดีเซลและเบนซิน มีรายละเอียดดังนี้

              MIL-L-2104 A ถูกกำหนดขึ้นเมื่อปี 1954
สำหรับเครื่องยนต์ดีเซลที่มีกำมะถันต่ำและเครื่องยนต์เบนซินทั่ว ๆ
ไปเปรียบได้กับมาตรฐาน API CA/SB ปัจจุบันยกเลิกไปแล้ว
            
MIL-L-2104 B กำหนดใช้เมื่อปี 1964
สำหรับน้ำมันหล่อลื่นทีมีสารเพิ่มคุณภาพด้านการป้องกันการเกิดอ๊อกซิเดชั่น
และป้องกันสนิม เทียบได้กับมาตรฐาน API CC/SC
            
MIL-L-2104 C กำหนดใช้เมื่อปี 1970
สำหรับน้ำมันหล่ดลื่นที่ใช้กับเครื่องยนต์ที่มีรอบสูงมาก ๆ
และการใช้งานหนัก มีสารป้องกันคราบเขม่า ป้องกันการสึกหรอ และป้องกันสนิม
เทียบได้กับมาตรฐาน API CD/SC
              MIL-L-2104 D
กำหนดใช้เมื่อปี 1983 เหมาะสำหรับเครื่องยนต์ดีเซลและเบนซิน 4 จังหวะ
ที่มีประสิทธิภาพสูงใช้งานหนัก เทียบได้กับมาตรฐาน API CD/SC
      
      MIL-L-2104 E กำหนดใช้เมื่อปี 1988
เหมาะกับเครื่องยนต์ดีเซลและเบนซิน 4 จังหวะ
รุ่นใหม่ที่มีประสิทธิภาพสูงใช้งานหนัก เทียบได้กับมาตรฐาน API CF/SG
          มาตรฐาน MIL-L-46152 เริ่มกำหนดใช้เมื่อปี 1970 เป็นมาตรฐานน้ำมันเครื่องยนต์ดีเซลและเบนซิน
                 MIL-L-46152 A เริ่มใช้เมื่อปี 1980 สำหรับเครื่องยนต์ดีเซลและเบนซินทั่วไป เทียบได้กับมาตรฐาน API SE/CC
                 MIL-L-46152 B กำหนดใช้เมื่อปี 1981 เป็นการรวมมาตรฐาน MIL-L-2104 B เทียบได้กับมาตรฐาน API SF/CC

               MIL-L-46152 C กำหนดใช้เมื่อปี 1987 โดยปรับปรุงจากมาตรฐาน
MIL-L-46152 B เพราะมีการเปลียนแปลงวิธีการวัดจุดไหลเทใหม่
         
       MIL-L-46152 D เป็นมาตรฐานที่ปรับปรุงมาจาก MIL-L-46152 C
เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงวิธีการทดสอบเครื่องยนต์
และมีคุณสมบัติป้องกันการเกิดอ๊อกซิเดนชั่นดีขึ้นกว่าเดิม
เทียบได้กับมาตรฐาน API SE/CD
                 MIL-L-46152 E มาตรฐานล่าสุด เทียบได้กับมาตรฐาน API SG/CE



        สำหรับมาตรฐานน้ำมันเครื่องที่รู้จัก ก็คือมาตรฐาน " API" และ "
SAE"
ซึ่งน้ำมันเครื่องจากผู้ผลิตส่วนใหญ่มักจะแจ้งมาคู่กันบางยี่ห้อจะบอกค่า
ดัชนีความหนืดของ "SAE" อย่างเช่น 5W-30, 15W-40
เป็นต้นและจะมีค่ามาตรฐานที่บอกสมรรถนะของน้ำมันเครื่องกระป๋องนั้นเป็น
มาตรฐาน "API" เช่น SE, SF, SG, CC, CD, CE เป็นต้น

         
ดังนั้นการเลือกใช้น้ำมันเครื่องก็ไม่ควรฟุ่มเฟือยโดยใช่เหตุ
เลือกใช้ให้เหมาะกับรถก็พอ
แต่ควรจะเลือกใช้ค่าความหนืดให้เหมาะสมกับสภาพอากาศและอาศัยการเปลี่ยนถ่าย
ที่เหมาะสมแก่เวลา ส่วนการเลือกใช้น้ำมันสังเคราะห์นั้น
มันก็ดีที่ช่วยยืดอายุเครื่องยนต์ได้อีกทางแต่มันไม่ค่อยเหมาะสมกับรถที่ใช้
งานธรรมดาจะเหมาะกับพวกชอบใช้รอบเครื่องยนต์สูง ๆ ขับซิ่ง
ๆยิ่งในเศรษฐกิจแบบนี้ต้องไม่จ่ายแพงกว่า
และการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องทุกครั้ง
ควรที่จะเปลี่ยนไส้กรองน้ำมันเครื่องควรคู่กันไปด้วย
Install by khemtat-l[at]hotmail.com

TOP

อันนี้ก็ดีมากมายครับ ขอบคุณที่เอาความรู้มาให้ครับ
Install by khemtat-l[at]hotmail.com
มันคุ้มค่ากับการตามหารักแท้ แม้มันจะแสนยากลำบาก แม้อาจจะไกลแต่ก็มีกำลังใจทุกครั้งที่ได้เจอเธอ

TOP

<img src="{SMILIES_PATH}/snowtoo_icon19.gif" alt=":smile19" title="smile19" />
Install by khemtat-l[at]hotmail.com
potfang@hotmail.com 0874105020 พต     

TOP

ขอบคุณสำหรับสาระดีๆ ครับ
Install by khemtat-l[at]hotmail.com
[url=http://www.temppic.com/img.php?16-12-2008:1229404132_0.65843100.jpg][/url]
ติดโช้คฝากระโปรง 900 บาท โทร 081-912-2033 , 080-554-4556 กุ๊ก

TOP

เยอะจัง..ขออีก <img src="{SMILIES_PATH}/snowtoo_icon24.gif" alt=":smile24" title="smile24" />
Install by khemtat-l[at]hotmail.com

TOP

ยอดมากครับ
Install by khemtat-l[at]hotmail.com
https://www.facebook.com/arm.runin
CITY ZX L15A VTEC TURBO

TOP

ยาวจริงๆ
Install by khemtat-l[at]hotmail.com

TOP

I had a dream to start my business, however I didn't earn enough of cash to do this. Thank heaven my close fellow advised to utilize the <a href="http://bestfinance-blog.com/topics/mortgage-loans">mortgage loans</a>. Thence I used the commercial loan and realized my dream.
Install by khemtat-l[at]hotmail.com

TOP

กลับไปยังรายบอร์ด
Image Hosted by CompGamer Image Host Image Hosted by CompGamer Image Host