"

Image Hosted by CompGamer Image Host      Image Hosted by CompGamer Image Host
กลับไปยังรายบอร์ด โพสต์ใหม่

พื้นฐานเรื่องสี ทฤษฎีเกี่ยวกับสี

พื้นฐานเรื่องสี ทฤษฎีเกี่ยวกับสี



คำว่าสีและความเกี่ยวข้องกับการพิมพ์งานดิจิตอลเป็นเรื่องที่ค่อนข้างสับสนเรามาลองแบ่งเรื่องของสีให้เป็นเรื่องเล็กๆและทำความเข้าใจไปพร้อมๆกันเรื่มต้นจากทฤษฎีเกี่ยวกับสี
สีคืออะไร?

สีที่เราเห็นเกิดขึ้นเมื่อตาของเรารับรู้ถึงความยาวคลื่นของแสงที่แตกต่างกันซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของElectromagnetic Spectrum ที่มีช่วงความยาวคลื่นระหว่าง380 และ760 nm (นาโนเมตร: 1 ส่วนใน1 พันล้านของเมตร) ส่วนความยาวคลื่นที่สั้นกว่า380 nm เราไม่สามารถมองเห็นได้เรียกว่าอัลตราไวโอเลต( Ultraviolet หรือUV )ส่วนความยาวคลื่นที่ยาวกว่า760 nm ที่เรามองไม่เห็นเหมือนกันเรียกว่าอินฟราเรด( Infrared หรือIR ) แต่ในความเป็นจริงนั้นยังมีรังสีElectromgnetic อีกหลายประเภทอย่างเช่นX-raysรังสีเอ็กซเรย์, Microwavesคลื่นไมโครเวฟ, Radarคลื่นเรดาห์และRadioคลื่นวิทยุล้วนแต่เป็นคลื่นที่เรามองไม่เห็นเพราะตาของเรารับรู้ได้จำกัดแค่ช่วงความถี่380 – 760 nm ช่วงความยาวคลื่นที่เรารับรู้ได้เรียกว่าVisible Spectrum หรือที่เราเรียกกันว่าแสงนั่นเอง



ระบบสีพื้นฐาน
สีพื้นฐานจะแบ่งออกได้เป็น3 สีพื้นฐานหลักไม่ว่าจะเป็นระบบสีแบบSubtractive Color หรือAdditive Color ก็ตาม



ระบบสีพื้นฐานAdditive Color (RGB)
อุปกรณ์ที่ใช้ระบบสีAdditive คือจอมอนิเตอร์สแกนเนอร์และกล้องดิจิตอล
ระบบAdditive Color หรือที่เรารู้จักกันในระบบสีRGB เกิดขึ้นจากแสงส่องจากแหล่งกำเนิดแสงไปยังวัตถุก่อนที่วัตถุจะสะท้อนแสงกลับมาที่ตาของเราระบบสีAdditive Color จะใช้สีหลักRed, Green และBlue ในการรวมกันให้เป็นสีอื่นๆสีหลักRGB ผสมกัน2 สีจะได้สีรองCyan, Magenta และYellow แต่ถ้ารวมกันทั้ง3 สีRGB จะได้สีขาวถ้าไม่มีแสงสีอะไรเลยจะได้สีดำ
จอมอนิเตอร์สร้างสีที่เรามองเห็นจากทางหน้าจอโดยการใช้แสงที่มีสีหลัก3 สีRGB แต่ละpixel บนจอมอนิเตอร์จะเริ่มจากการไม่มีแสงซึ่งจะแสดงผลเป็นสีดำแต่ถ้าแสงของแต่ละสีRGB แสดงผลพร้อมกันก็จะได้สีขาวจอมอนิเตอร์แบบLCD จะมีหลอดไฟR G และB อยู่ที่แต่ละจุดบนหน้าจอโดยการจ่ายกระแสไฟที่ต่างกันทำให้ได้ความเข้มของสีที่ต่างกันเมื่อแสงของแต่ละสีรวมตัวกันก็จะกลายเป็นสีอื่นๆเกิดขึ้นและใช้ฟิลเตอร์เพื่อบังไม่ให้แสงผ่านหรือเปิดเพื่อให้แสงผ่านแทนวิธีการนี้เองที่เรียกว่าAdditive Color
ส่วนสแกนเนอร์และกล้องดิจิตอลก็อาศัยระบบAdditive Color ในการรวบรวมข้อมูลเพื่อสร้างเป็นภาพที่เราต้องการโดยอาศัยแสงที่สะท้อนจากวัตถุมาที่ตัวรับภาพเก็บข้อมูลแยกเป็น3 Channel RGB แล้วเอาข้อมูลมารวมกันประมวลผลเป็นข้อมูลดิจิตอลในโหมดสีRGB ดังที่จะเห็นได้ว่าไฟล์ที่ถ่ายด้วยกล้องดิจิตอลก็จะได้ไฟล์RGB ไฟล์ที่ได้จากสแกนเนอร์ก็จะเป็นไฟล์RGB ส่วนไฟล์CMYK ที่ได้จากสแกนเนอร์จะอาศัยการแปลงค่าจากไฟล์RGB เป็นCMYK ผ่านทางซอฟต์แวร์ที่ใช้สแกน



ระบบสีพื้นฐานSubtractive Color (CMY)

อุปกรณ์ที่ใช้ระบบสีSubtractive Color คือเครื่องพิมพ์
ระบบSubtractive Color หรือที่เรารู้จักกันในระบบสีCMY เกิดขึ้นจากการดูดซับความยาวคลื่นของสีบางช่วงและสะท้อนความยาวคลื่นของสีที่เหลือกลับมาที่ตาของเราระบบสีSubtractive Color จะใช้สีหลักCyan, Magenta และYellow ในการรวมกันให้เป็นสีอื่นๆสีหลักCMY ผสมกัน2 สีจะได้สีรองRed, Green และBlue แต่ถ้ารวมกันทั้ง3 สีCMY จะได้สีดำ

ยกตัวอย่างเช่นกระดาษที่พิมพ์ด้วยสีแดงมันไม่มีแสงในตัวของมันเองที่จะสะท้อนเข้ามาที่ตาของเราแต่ในทางกลับกันมันจะสะท้อนแสงสีขาวและดูดซับความยาวคลื่นของสีเขียวและน้ำเงินไว้ปล่อยให้ความยาวคลื่นของสีแดง

รูปประกอบแสดงถึงการดูดซับและการสะท้อนของแสงสีต่างๆบนหมึกพิมพ์สีที่ต่างกัน



สีพื้นฐานระบบSubstractive จะสะท้อนแสง2 สีกลับไปรวมกันเป็นอีกสีหนึ่งสีพื้นฐานระบบAdditive จะสะท้อนแสง1 สีกลับไป
ขอบคุณข้อมูลจาก http://inkjetsociety.thaisignmaker.com/
Billion Plus https://www.billion-plus.com
Facebook https://www.facebook.com/billionfabricdisplay
Blog https://billionplus365.blogspot.com/
Install by khemtat-l[at]hotmail.com

กลับไปยังรายบอร์ด
Image Hosted by CompGamer Image Host Image Hosted by CompGamer Image Host