HondaCityClub's Archiver




Image Hosted by CompGamer Image Host

Image Hosted by CompGamer Image Host   Image Hosted by CompGamer Image Host

l3roker กระทู้เมื่อ 6/5/2013 10:17

รถยนต์ตกท่อระบายน้ำ บริษัทรับ ประกันภัยรถยนต์ ฟ้อง​ให้รับผิด

[url=http://www.q4car.com]รถยนต์[/url]ตกท่อระบายน้ำ บริษัทรับ [url=http://www.tqmbroker.com]ประกันภัยรถยนต์[/url] ฟ้องหน่วยงานทางปกครองรับผิด ปล่อยปละละเลยไม่ดูแลให้ถนนอยู่ในสภาพใช้การได้โดยปลอดภัย

[img]http://www.tqmbroker.com/images/stories/news/11-44-02-1457667072.gif[/img]

เหตุแห่งการฟ้องคดีนี้เกิดจากลูกจ้างของบริษัท ม. จำกัด ได้ขับ[url=http://www.q4car.com]รถยนต์[/url]ไปบนถนนหลวงและรถยนต์ตกท่อระบายน้ำที่มีฝาท่อระบายน้ำถูกเปิดออก ทำให้[url=http://www.q4car.com]รถยนต์[/url]ได้รับความเสียหายหลายรายการ ผู้ฟ้องคดีในฐานะบริษัทผู้รับ [url=http://www.tqmbroker.com]ประกันภัยรถยนต์[/url] คันดังกล่าว จึงได้ซ่อมแซม[url=http://www.q4car.com]รถยนต์[/url]ให้อยู่ในสภาพใช้งานได้ดังเดิม และเข้ารับช่วงสิทธิจากบริษัท ม. จำกัด เพื่อเรียกร้องค่าเสียหายในการซ่อมแซม[url=http://www.q4car.com]รถยนต์[/url] โดยนำคดีมาฟ้องเพื่อขอให้ศาลปกครองมีคำพิพากษา ให้ผู้ถูกฟ้องคดี (กรมทางหลวง) ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนดังกล่าว ผู้ถูกฟ้องคดีต่อสู้ว่าแม้ถนนบริเวณที่เกิดเหตุจะเป็นเขตทางหลวงแผ่นดิน ที่อยู่ในความรับผิดชอบของผู้ถูกฟ้องคดี แต่ได้มอบพื้นที่ให้กรมโยธาธิการ (หรือกรมทางหลวงชนบท (ปัจจุบัน)) รับไปดูแลตามโครงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา และอุบัติเหตุเกิดจากความประมาทของผู้ขับขี่ ที่ขับรถด้วยความเร็วสูงและไม่ใช้ความระมัดระวัง สังเกตดูทางข้างหน้า ซึ่งจะเห็นได้ชัดว่าฝาท่อระบายน้ำเปิดออก และจำนวนค่าเสียหายที่เรียกร้องก็สูงเกินกว่าความเป็นจริง

คดีนี้มีประเด็นที่น่าสนใจ คือ ประเด็นแรก คือ ผู้ถูกฟ้องคดีละเลยต่อหน้าที่หรือไม่ ?และการที่[url=http://www.q4car.com]รถยนต์[/url]เกิดอุบัติเหตุ ถือเป็นการละเมิดต่อผู้ฟ้องคดีหรือไม่ ? มีข้อกฎหมายสำคัญ คือ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 บัญญัติว่า

“ผู้ใดจงใจหรือประมาทเลินเล่อ ทำต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมายให้เขาเสียหายแก่ชีวิตก็ดี แก่ร่างกายก็ดี ทรัพย์สิน หรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดก็ดี ท่านว่าผู้นั้นทำละเมิด จำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น”

และพระราชบัญญัติทางหลวง พ.ศ.2535 มาตรา 5 วรรคหนึ่ง กำหนดให้กรมทางหลวงมีภารกิจเกี่ยวกับการก่อสร้างและบำรุงรักษาทางหลวงเพื่อให้ประชาชนมีความสะดวก รวดเร็ว และปลอดภัยในการเดินทาง โดยให้มีอำนาจหน้าที่ในการบำรุงรักษาทางหลวง

ศาลปกครองสูงสุดวินิจฉัยว่า ถนนบริเวณที่เกิดเหตุเป็นเขตทางหลวงแผ่นดิน ซึ่งเป็นหน้าที่ของผู้ถูกฟ้องคดีตามกฎหมาย ที่ต้องตรวจตราและดูแลรักษาถนนให้อยู่ในสภาพเรียบร้อยใช้งานได้อย่างปลอดภัย เมื่อปรากฏว่าบริเวณที่เกิดเหตุ ไม่มีไฟส่องสว่างและไม่มีสัญญาณหรือเครื่องหมายใดๆ ที่แจ้งเตือนในระยะห่างพอสมควร และไม่สามารถมองเห็นได้ชัดเจนในเวลากลางคืน ทั้งไม่ปรากฏว่าลูกจ้างของบริษัท ม. จำกัด ได้ขับรถด้วยความประมาทเลินเล่อ จึงรับฟังไม่ได้ว่า ผู้ถูกฟ้องคดีได้ปฏิบัติหน้าที่ในการบำรุงรักษาทางหลวงและติดตั้งเครื่องหมายสัญญาณเตือนความปลอดภัย ในการขับขี่อย่างเพียงพอจึงถือได้ว่า อุบัติเหตุและความเสียหายเกิดจากการละเลยต่อหน้าที่ของผู้ถูกฟ้องคดีตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 5 วรรคหนึ่ง (2) แห่งพระราชบัญญัติทางหลวง พ.ศ.2535 และข้อ 1 ของกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมทางหลวง กระทรวงคมนาคม พ.ศ.2545 อันเป็นการกระทำละเมิดต่อเจ้าของหรือผู้ครอบครอง[url=http://www.q4car.com]รถยนต์[/url]

อ่านต่อที่  [b][url=http://q4car.wordpress.com/2013/05/02/รถยนต์ตกท่อระบายน้ำ/]รถยนต์ตกท่อระบายน้ำ บริษัทรับ ประกันภัยรถยนต์ ฟ้อง​ให้รับผิด[/url][/b]

Alexzander กระทู้เมื่อ 6/1/2016 15:32

ขอบคุณครับสำหรับเคสนี้ เป็นความรู้เน้น ๆ

หน้า: [1]

Powered by Discuz! Archiver 7.2  © 2001-2009 Comsenz Inc.
Translated Thai by Jaideejung007(Thzaa.com)